วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

Financial Document  เอกสารทางการเงิน
1.  Bill of exchange ตั๋วแลกเงิน (Bill of exchange) คือ ตราสารการเงินระยะสั้น ที่บุคคลรายหนึ่งสั่งให้บุคคลอีกรายหนึ่ง จ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในตั๋วแลกเงินนั้น ให้แก่บุคคลอีกรายหนึ่ง ในวันที่กำหนดบนหน้าตั๋วแลกเงินนั้น ตั๋วแลกเงินสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ในตลาดเงิน (money market) ส่วนใหญ่จะมีธนาคารหรือสถาบันการเงินค้ำประกัน หรือรับรอง หรือรับอาวัล หรือสลักหลังอย่างไม่มีเงื่อนไข ตั๋วเงินชนิดหนึ่งเป็นตราสารแสดงสิทธิในหนี้ มักใช้ในการซื้อขายสินค้าหรือกู้ยืมระยะสั้นจากธนาคาร โดยทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้
2.  Draft ดราฟต์ (Demand Draft) คือตราสารทางการเงิน หรือ ตั๋วแลกเงินของธนาคาร ที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นผู้ออกและสั่งให้ธนาคารตัวแทน (Correspondent Bank) หรือสาขาของตนในต่างประเทศจ่ายเงินจำนวนหนึ่งตามที่ระบุในดราฟต์ ให้แก่ผู้รับผลประโยชน์ที่มีชื่อระบุไว้บนดราฟต์
        ตั๋วแลกเงินหรือดราฟต์ (Bill of Exchange or Drafts) ในกรณีนี้ผู้ออกตั๋วเป็นผู้สั่งให้อีกบุคคลหนึ่งจ่ายให้แก่ตน หรือจ่ายให้แก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งตามคำสั่ง โดยที่ตั๋วแลกเงินนั้นก็คือ หนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้จ่ายให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งแก่บุคคลหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่าผู้รับเงิน ดังนั้น จะเห็นได้ว่าในกรณีตั๋วแลกเงินนั้นมีบุคคลเข้ามาเกี่ยวข้องถึงสามฝ่ายด้วยกันคือ ผู้สั่งจ่าย (Drawer) ผู้รับคำสั่งให้จ่ายหรือผู้จ่าย (Drawee) และผู้รับเงิน (Payee ) แต่ในบางกรณีอาจจะมีเพียงสองฝ่ายก็ได้ คือ ผู้สั่งจ่ายและผู้รับเงินเป็นบุคคลเดียวกัน
        ตั๋วแลกเงินแบ่งออกได้เป็นสองประเภท คือ ตั๋วแลกเงินภายในประเทศ และตั๋วแลกเงินต่างประเทศ สำหรับตั๋วแลกเงินต่างประเทศ ตั๋วแลกเงินจะบังคับได้ในกรณีผู้ถูกสั่งให้จ่ายหรือผู้จ่ายต้องได้มีการรับรองการจ่ายเงิน (Accepted) บนหนังสือตราสารนั้น
        ตั๋วแลกเงินสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
         (1) แยกตามลักษณะของผู้จ่ายเงิน (Drawee) ในกรณีที่สั่งให้ธนาคารเป็นผู้จ่ายเรียกว่า ตั๋วแลกเงินธนาคาร (Bank Draft หรือ Sight Bill) ตั๋วแลกเงินที่มีกำหนดเวลา (Time Bill) คือ ตั๋วแลกเงินที่มีการตกลงร่วมกันระหว่างผู้จ่ายและผู้รับ ว่าจะมีการชำระหรือเบิกถอนหลังจากผู้รับได้รับตั๋วแลกเงินแล้วเป็นเวลากี่วัน
         (2) เช็ค (Cheque) ก็เป็นตั๋วแลกเงินลักษณะหนึ่ง แต่ผู้จ่ายเงินเป็นธุรกิจของสถาบันการเงินรูปหนึ่งที่เรียกว่า ธนาคาร ซึ่งเช็คก็คือหนังสือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคารให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่าผู้รับเงิน
3.  Cheque
เช็ค คือตราสารซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าผู้สั่งจ่าย สั่งให้ธนาคารใช้เงินจํานวนหนึ่งเมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง หรือให้ใช้ตามคําสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่งอันเรียกว่า ผู้รับเงิน 
4. Bill of Collection การเรียกเก็บเงินตามตราสารเพื่อลูกค้า          
การเรียกเก็บเงินตามตราสารเพื่อลูกค้าเป็นบริการที่ธนาคารให้แก่ลูกค้าที่มีบัญชีเงินฝากกับธนาคารด้วยการเรียกเก็บเงินตามเช็ค  ดราฟต์ ตั๋วแลกเงิน  และตราสารทางการเงินอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันให้แก่ลูกค้า เมื่อเรียกเก็บเงินได้ ธนาคารจะนำเงินเข้าบัญชีให้ลูกค้า ธนาคารให้บริการเรียกเก็บเงินทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศโดยธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากลูกค้า
5. Bonds หุ้นกู้ คือ ตั๋วสัญญาใช้เงินระยะยาวประเภทหนึ่งที่ออกโดยผู้กู้ ซึ่งระบุว่าผู้กู้ ได้กู้ยืมเงินจำนวนหนึ่งจากผู้ซื้อ หรือผู้ถือหุ้นกู้โดยผู้กู้สัญญาว่าจะจ่ายคืนเงินจำนวนดังกล่าวในอนาคต และจ่ายดอกเบี้ยเป็นรายงวดตามวันที่กำหนดไว้ตลอดอายุหุ้นกู้ ผู้ถือหุ้นกู้จะมีสภาพ เป็นเจ้าหนี้ของบริษัทที่ออกหุ้นกู้นั้น
หุ้นกู้ที่ออกจำหน่ายจะต้องระบุข้อมูล ดังนี้
1. ระยะเวลาครบกำหนดไถ่ถอน หรืออายุหุ้นกู้
2. มูลค่าที่ตราไว้ หรือ มูลค่าเมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ซึ่งเป็นเงินต้นที่ผู้กู้ต้องชำระคืน ณ วันครบกำหนดไถ่ถอน โดยปกติจะเท่ากับ 1,000 บาท
3.  อัตราดอกเบี้ย ที่ระบุไว้บนใบหุ้นกู้ ซึ่งแสดงถึงร้อยละของมูลค่าที่ตราไว้ โดยมักจะจ่ายเป็นรายปีหรือรายครึ่งปี
            หุ้นกู้จัดเป็นหลักทรัพย์ที่ให้รายได้ประจำ เนื่องจากการจ่ายดอกเบี้ยและชำระคืนเงินต้นของหุ้นกู้ ได้ระบุไว้แน่นอน ณ เวลาที่ออกและกำหนดเป็นจำนวนเงินคงที่ 
ตลอดอายุหุ้นกู้ ดังนั้นผู้ซื้อหรือผู้ถือหุ้นกู้จะทราบถึงกระแสเงินสดในอนาคตที่จะได้รับนับจากวันที่ซื้อจนถึงวันครบกำหนดไถ่

6.  Stock หุ้นคือ ตราสารที่ออกโดยบริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือ สหกรณ์ หุ้นมีหลายชนิด คือ
1.    หุ้นทุนหรือหุ้นสามัญ (Common Stock) คือหน่วยของความเป็นเจ้าของ ในบริษัท สหกรณ์ หรือกิจการอื่นที่ระบุให้แบ่งหน่วยความเป็นเจ้าของเป็นหุ้นตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่มีถืออยู่ ผู้ถือหุ้นจะมีสิทธิ์ออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้นได้มากเท่ากับสัดส่วนของหุ้นที่ถือ ถ้าผู้ถือหุ้นคนใดถือหุ้นเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่กิจการออกทั้งหมด จะมีสิทธิ์ตั้งฝ่ายจัดการของกิจการได้
2.     หุ้นบุริมสิทธิ์ (Preferred Stock) คือหุ้นที่มีความเป็นเจ้าของ ผสมกับความเป็นเจ้าหนี้ด้วย โดยที่ถ้าบริษัทนั้นๆต้องเลิกกิจการลง ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิ์จะได้รับส่วนแบ่งก่อนผู้ถือหุ้นสามัญ
3.      หุ้นกู้ (Debenture) คือตราสารที่กิจการออกเพื่อเป็นการกู้ยืมเงินมาใช้ในกิจการ โดยจ่ายดอกเบี้ยให้กับผู้ถือหุ้นเป็นผลตอบแทน กรณีที่เลิกกิจการผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับเงินที่ลงทุนในหุ้นกู้คืนก่อน เนื่องจากเป็นเจ้าหนี้ของกิจการ
ปัจจุบันเราสามารถซื้อขายหุ้นที่มีในมือได้จากตลาดหลักทรัพย์ โดยต้องเปิดบัญชีซื้อขายหลัก
ทรัพย์กับตัวแทนที่เป็นบริษัทหลักทรัพย์ก่อน

Transport Document เอกสารการขนส่ง
1. Bill of Ladingใบเบิก
2. Airway Bill ใบตราส่งสินค้าทางอากาศ เป็นเอกสารกำกับสินค้าโดยมีหลักฐานในการขนส่งสินค้าที่ทำขึ้นในลักษณะของสัญญา การขนส่งสินค้าระหว่างผู้ส่งออกกับผู้ทำการขนส่งโดยมีผู้รับสินค้าเป็นบุคคลที่สามที่ทำให้สัญญาการขนส่งสมบูรณ์ สัญญานี้จะครอบคลุมตั้งแต่จุดรับมอบสินค้า  สนามบินต้นทางจนถึงจุดส่งมอบสินค้าปลายทางของสินค้าทุกประเภท
3. Railway Bill ใบตราส่งสินค้าทางรถไฟ ใบเบิก สำหรับ สินค้า ที่จัดส่งโดยทางรถไฟ
4. Roadway Bill ใบตราส่งสินค้าทางถนน
5. Certificate of Posting
6.  CMR
7.  TIR
Commercial Document : เอกสารทางการค้า
1. invoice Invoice : บัญชีราคาสินค้าหรือใบกำกับราคาสินค้า ? เป็นเอกสารที่ผู้ส่งสินค้า (Exporter) จัดขึ้น เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า เช่น รายการจำนวนสินค้า, น้ำหนัก ราคาต่อหน่วย ราคารวม ประเภทของราคา ที่จะทำการซื้อขายกัน เครื่องหมายหีบห่อ ชื่อเรือที่ทำการขนส่ง ชื่อผู้ซื้อ เป็นต้น แต่ละบริษัทผู้ขายสินค้า (Exporter) จะมี Form ในการออก Invoice ของตนเอง และส่งไปพร้อมกับสินค้า พร้อมทั้งส่งมอบให้ผู้ซื้อ (Importer) เป็นหลักฐานในการตรวจสอบสินค้า
ชนิดของ Invoice มี 2 ชนิด คือ
1. Official Invoice ? เป็น Invoice ที่ใช้ในทางรัฐบาลซึ่งทางการประเทศปลายทางต้องการ โดยแบ่งออกเป็น
1.1 Customs Invoice ? เป็น Invoice ที่ทำขึ้นเพื่อมอบให้ด่านศุลกากรปลายทางใช้ตรวจสินค้า การที่ด่านศุลกากรเรียก Invoice ชนิดนี้ก็เพื่อหาทางป้องกันการตัดราคาตลาด (Dumping) ในบางประเทศ
1.2 Consular Invoice ? เป็น Invoice ที่ต้องนำไปให้กงสุลของประเทศที่จะส่งสินค้าไป ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศผู้ขาย (Export Country) ตรวจตราเสียก่อนที่จะส่งไปตามระเบียบศุลกากรของประเทศผู้ซื้อ (Import Country) ดังนั้น Invoice ที่ออกโดยสถานกงสุลจะต้องได้รับการประทับตราทางราชการ และลงนามโดยถูกต้อง ซึ่งจะต้องเสียค่าธรรมเนียมให้สถานกงสุลตามระเบียบของสถานกงสุลนั้นๆ
2. Commercial Invoice ? เป็นเอกสารที่ผู้ส่งสินค้า (Exporter) จัดทำขึ้นเพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสินค้า เช่น รายการจำนวนสินค้า น้ำหนัก ราคาต่อหน่วย ราคารวม ประเภทของราคาที่จะทำการซื้อขายกัน เป็นต้น
Commercial Invoice สามารถจำแนกออกเป็น 5 ชนิด คือ
1. Local Invoice =>ใช้ในกิจการค้าภายในประเทศ
2. Shipping Invoice =>ใช้ในกิจการค้าระหว่างประเทศ
3. Consignment Invoice =>ใช้ในการสั่งสินค้าไปเพื่อฝากขายราคาที่แจ้งจะเป็นราคา C.I.F.
4. Sample Invoice =>ใช้สำหรับส่งสินค้าตัวอย่างไปต่างประเทศ
5. Pro-forma Invoice ? ใช้ในการเสนอราคา และเงื่อนไขในการจ่ายเงิน
2. packing list (ใบรายการบรรจุหีบห่อ)
                    เป็นเอกสารที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งแสดงให้ทราบถึงการบรรจุสินค้าลงไปในบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศ เพื่อสะดวกในการตรวจสอบสินค้าทั้งต้นทางและปลายทางสำหรับสินค้าปกติเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะใช้วิธีการสุ่มตรวจตามอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยจะไม่ทำการตรวจสินค้าทั้งหมดด้วยการเปิดหีบห่อ ซึ่งอาจทำให้บรรจุภัณฑ์และสินค้าเกิดการเสียหายหรือสูญหายได้ ดังนั้น ใบรายการบรรจุหีบห่อควรรายละเอียดให้เพียงพอ
Packing & Weight List : ใบแสดงการบรรจุหีบห่อและใบแสดงรายการน้ำหนักสินค้า ? เป็นรายการในการบรรจุหีบห่อ แสดงถึงการบรรจุของในแต่ละหีบห่อว่าได้บรรจุสินค้าแบบใด จำนวนเท่าใด ในบางครั้งจะแสดงถึงน้ำหนักและขนาดด้วย ถ้าหากไม่แจ้งขนาดและน้ำหนักจะมีเอกสารที่แยกออกไป
3. Weight Certificate : ใบรับรองแสดงน้ำหนักสินค้า  เป็นใบรับรองแสดงน้ำหนักสินค้า ซึ่งผู้ซื้อจะทราบว่าสินค้ามีน้ำหนักตามมาตรฐานที่ได้ตกลงซื้อขายกันหรือไม่วัตถุประสงค์ใหญ่ของเอกสารเพื่อการส่งออก เพียงจัดให้มีรายละเอียดที่สมบูรณ์ของสินค้าเพื่อการผ่านขั้นตอนศุลกากรได้ถูกต้องรวดเร็ว นอกจากนั้นเอกสารยังทำหน้าที่ในการขนส่ง การชำระเงินและพิธีการทางเครดิต การประกันภัย และการเรียกร้องค่าเสียหายของสินค้าอีกด้วย
4. Certificate of Origin : ใบรับรองต้นกำเนิดสินค้า  เป็นใบรับรองต้นกำเนิดสินค้า ว่าสินค้านั้นๆ มีกำเนิดในประเทศใด ตามปกติแล้วจะนิยมให้สภาการค้า (Chamber of Commerce) ของประเทศผู้ส่งสินค้าเป็นผู้ออกให้ วัตถุประสงค์ในการใช้เอกสารนี้ ก็โดยเหตุที่บางประเทศเรียกเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้าที่ผลิตในประเทศที่มีสนธิสัญญาในเรื่องภาษีต่อกันต่ำกว่าสินค้าจากประเทศอื่น หรือห้ามสินค้าจากประเทศใดประเทศหนึ่งเข้าประเทศของตน
5. Health Certificate : ใบสำคัญแสดงความสมบูรณ์ของสินค้า  เป็นเอกสารที่แสดงถึงความสมบูรณ์ของสินค้า สินค้าบางชนิดจำเป็นต้องใช้โดยเฉพาะสินค้าทางการเกษตร ซึ่งต้องการคำรับรองว่า มีความสมบูรณ์ปราศจากโรครบกวน
6. Certificate of Inspection : ใบสำคัญแสดงการตรวจสินค้า  เป็นเอกสารรับรองคุณภาพของสินค้าที่ออกโดยองค์การตรวจของรัฐบาลหรือเอกชนที่เชื่อถือได้ เนื่องจากสินค้าบางชนิดผู้ซื้อ (Importer) ต้องการให้มีการตรวจคุณภาพสินค้าด้วย   6. CERTIFICATE OF INSPECTION ( ใบรับรองการตรวจสอบ  ผู้ซื้อบางรายต้องการใบรับรองการตรวจสอบ เพื่อแน่ใจว่าสินค้าที่สั่งซื้อนั้นเป็นไปตามมาตราฐานผู้ส่งออกต้องจัดการเรื่องเหล่นี้ให้ลูกค้าของตนเอง
7.
 Insurance Certificate : ใบรับรองการประกันภัย  คือ หลักฐานที่ผู้รับประกันภัยออกให้แก่ผู้ประกันภัยในแต่ละครั้งที่มีการขนส่งสินค้า
8. phytosanitary certificate  (ใบรับรองการปลอดโรคและศัตรูของพืชทุกชนิด)
                     เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคพืชต่าง ๆ เอกสารชนิดนี้ออกโดยหน่วยงานของรัฐซึ่งได้รับการรับรองจากนานชาติ สำหรับกรรมวิธีการปฏิบัตินั้นอาจใช้บริการ ศึกษาได้จากหัวข้อ การส่งออก สินค้าเกษตร

9. fumigation certificate (ใบรับรองการรมยา)
                     สำหรับสินค้าทุกชนิดที่เป็นผลิตภัณฑ์จากพืช เพื่อเป็นการทายศัตรูพืชทุกชนิดนอกจากนั้น เป็นการทำลายเชื้อราต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างการขนส่งสินค้า ดังนั้นกรรมวิธีการรมควันจึงเป็นการป้องกันที่ต้นเหตุได้อย่างดี

10.
certificate of analysis  (ใบวิเคราะห์สินค้า)
                    เป็นเอกสารแสดงการตรวจสอบสินค้าทางวิทยาศาสตร์ ให้ทราบถึงส่วนผสมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสินค้าและให้การรับรองเป็นเอกสาร ถ้าเป็นอาหารที่บริโภคได้ก็จะวิเคราะห์ออกมาว่าไม่มีสิ่งเจือปนที่เป็นพิษตามหลักเกณฑ์สากล หรือมาตรฐานที่แต่ละประเทศกำหนด ถ้าเป็นเคมีภัณฑ์ก็แยกออกมาให้ทราบถึงส่วนผสมที่มีอยู่ เพื่อสะดวกแก่การนำสินค้าดังกล่าวเข้าประเทศ
11.
sanitary certificate    (ใบรับรองการตรวจสอบอาหารที่เป็นของสดหรือแช่แข็ง)
                    ใบรับรองประเภทนี้จะออกให้แก่ผู้ส่งออก เพื่อรับรองว่าผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสัตว์ที่ส่งออกไปปลอดโรคและสิ่งปนเปื้อนที่จะเป็นอัตรายต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดที่ประเทศผู้ซื้อกำหนดด้วย สำหรับหน่วยงานที่มีอำนาจออกหนังสือรับรองประเภทนี้เป็นไปตามส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น สินค้าประเภทสัตว์น้ำจะออกใบรับรองโดย กรมประมง เป็นต้น
              ข้อสรุปในการจัดทำเอกสาร-เพื่อการส่งออกควรจัดทำไว้เป็น 2 ชุด
                      ชุดที่ 1. ใช้ในการผ่านพิธีการศุลกากรภายในประเทศ สำหรับสินค้าส่งออก ตามระเบียบของกรมศุลกากรทุกประเภท
                      ชุดที่ 2. เป็นชุดที่ต้องจัดส่งไปให้ผู้รับสินค้าปลายทาง หรือผู้ซื้อนั่นเอง ควรทำและจัดหาให้ครบตามที่ผู้ซื้อต้องการ หรือ ถ้าเป็นการขายสินค้าโดยมี แอล.ซี. ต้องตรวจสอบให้ครบถ้วนตามที่ L/C ได้กำหนดไว้ ซึ่งต้องลงรายละเอียดและหาข้อมูลตามเงื่อนไขโดยถูกต้องด้วย
12. Entreport Certificates
13. Shipping Line Certificates การจัดส่งสินค้าใบรับรองสาย
14.
Measurement Certificatesใบรับรองการวัด
http://www.exim.go.th/doc/newsCenter/9464.pdf เอกสารมีอีกในเว็บนี้ลองอ่านดู


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น